เกี่ยวกับคณะ

ประวัติความเป็นมา

สร้างบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ ให้สามารถนำเอาทักษะและองค์ความรู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์คณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผ่านรูปแบบการสอนที่เน้นให้ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญในด้านจิตวิทยาพัฒนาการ การเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก เป็นบัณฑิตที่มีทักษะการสื่อสารดีเยี่ยม และเป็นผู้พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สอดคล้องกับคุณลักษณะ 4 ประการของบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ Psychology based Developer, Active Facilitator, Smart Communicator และ Professional Educator

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันทางการศึกษาปฐมวัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ปรัชญา

พัฒนาครูปฐมวัยมืออาชีพที่มุ่งมั่นพัฒนาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ

พันธกิจ

สร้างบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพผ่านรูปแบบการสอนที่เน้นให้ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้บัณฑิตเป็น

    • นักปฏิบัติที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Practitioner)
    • ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก (Active Facilitator)
    • บัณฑิตที่มีทักษะการสื่อสารดีเยี่ยม (Smart Communicator)
    • นักการศึกษามืออาชีพ (Professional Educator)

ทำไมต้องเรียนที่นี่

1. เรียนด้วยการปฏิบัติจริง (Practices) ทั้งในโรงเรียนสาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและศูนย์ฝึกอบรมต้นแบบของโครงการ RIECE Thailand
2. มีความเชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก
3. มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและได้รับ HighScope Teacher Certificate
4. มีโอกาสได้รับคัดเลือกไปศึกษาดูงาน HighScope ที่ต่างประเทศ
5. มีรายได้ระหว่างเรียนจากการเป็นผู้ช่วยนักวิจัยและการฝึกสอน
6. ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย

ผู้บริหารคณะ

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชาติ กิเลนทอง

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชาติ กิเลนทอง

ตำแหน่ง: คณบดี

วุฒิการศึกษา
• Ph.D., Economics, University of Chicago
• M.A., Economics, University of Chicago
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ฟิสิกส์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย, คณะการศึกษาปฐมวัย อาคาร 21 ชั้น 7

คลิกชมเว็บไซต์ส่วนตัวคณบดี

อ.ตุ้ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพรรณ บุญพัฒนาภรณ์

ตำแหน่ง: ที่ปรึกษาคณบดี

วุฒิการศึกษา
• ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) การสอนภาษาอังกฤษ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• Cert in Culture and Communication, University of Central Lancashire, U.K.
• Cert in English for Business Management, University of Central Lancashire, U.K.

อีเมล์:

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะการศึกษาปฐมวัย อาคาร 21 ชั้น 7

อาจารย์ ดร.วราบุษ ศุภลักษณ์บันลือ

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายบริหาร

วุฒิการศึกษา
• ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาประสาทวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) พัฒนาการมนุษย์, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
• วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) จิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะการศึกษาปฐมวัย อาคาร 21 ชั้น 7

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพรรณ ธีรพงศ์

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

วุฒิการศึกษา

วุฒิการศึกษา

• การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา

• การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) การศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

• ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) การอนุบาลศึกษา, วิทยาลัยครูสวนดุสิต

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะการศึกษาปฐมวัย อาคาร 21 ชั้น 7

อาจารย์ วิมลรัตน์ ศาสตร์สุภาพ

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

วุฒิการศึกษา

•  ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) การศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

•  การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ดุริยางค์สากล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะการศึกษาปฐมวัย อาคาร 21 ชั้น 7

เครือข่ายพันธมิตร

ผลงานวิจัย

  1. Roles of Parental Absence and Child’s Gender in Early Childhood Investment in Rural Thailand. Ngọc Tú T. Đinh and Weerachart T. Kilenthong University of the Thai Chamber of Commerce
  2. An Early Evaluation of An Early Childhood Curriculum Intervention in Rural Thailand. Wisuwat Chujan and Weerachart T. Kilenthong University of the Thai Chamber of Commerce December 27, 2018
  3. บทบาทของการเงินต่อความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย (Finance and Inequality in Thailand), สัมมนา วิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2557
  4. ปิยาภรณ์ กังสดาร. (2561). “สื่อและสภาพแวดล้อมในการจัดประสบการณ์ด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย” ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดประสบการณ์ด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจและสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 12 หน้า 32 – 65. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
  5. กัญภัสสร์ รังษีบวรกุล, ปิยาภรณ์ กังสดาร และวรรณิษา หาคูณ (2558). ธรรมชาติการเรียนรู้ BBL IQ EQ MI. พิมพ์ครั้งที่ 5 นนทบุรี: วิชั่น พรีเพรส.